ลูกค้าเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการและความยั่งยืนของบริษัทฯ

การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า จึงมีความสำคัญมากต่อบริษัทฯ นอกจากจะทำให้บริษัทฯ ได้รับทราบทัศนคติ และความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อช่วยให้บริษัทฯ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้นแล้วยังช่วยให้บริษัทฯ สามารถติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในอนาคตได้อีกทางหนึ่ง

ความเสี่ยง

หากบริษัทไม่สามารถเชื่อมโยงกับลูกค้าปัจจุบันเพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันได้อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อบริษัทฯ และชื่อเสียงในระดับภูมิภาคและระดับโลก เนื่องจากกลุ่มลูกค้าปัจจุบันเป็นผู้นำในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และมีเครือข่ายกว้างขวาง รวมถึงคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานที่อยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม เชื่อมโยงกันทั่วโลก  จึงอาจจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมที่บริษัทฯ ดำเนินการอยู่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศของนักลงทุนและกลุ่มลูกค้าในอนาคตได้

โอกาส

การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าและการสร้างความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ด้วยการดึงดูดให้เกิดการซื้อ และการใช้บริการซ้ำ เกิดการแนะนำบอกต่อ และสร้างชื่อเสียงและความเชื่อมั่นให้กับบริษัทฯ อันนำมาซึ่งการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับลูกค้าตามหลักการ “ALL WIN” มาโดยตลอด ความสำเร็จของลูกค้าหรือผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการเจริญโตทางเศรษฐกิจของบริษัทฯ ในระยะยาว

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า และการบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความผูกพัน และความเชื่อมั่นในฐานะหุ้นส่วนความสำเร็จทางธุรกิจที่จะเติบโตไปด้วยกัน  บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางในการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าดังนี้

การสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า

ความสำเร็จของลูกค้าหรือผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการเจริญโตทางเศรษฐกิจของบริษัทฯ ในระยะยาว บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นในการสร้างและบริหารความสัมพันธ์ที่ดีผ่านช่องทางการมีส่วนร่วมต่าง ๆ เพื่อสร้างความผูกพัน และความเชื่อมั่นในฐานะหุ้นส่วนความสำเร็จทางธุรกิจที่จะเติบโตไปด้วยกัน ในปี 2564 แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19  บริษัทฯ ยังดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ดังนี้ 

1. การประชุมระหว่างบริษัทฯ และลูกค้า

AMATA Japanese Society

  • จัดประชุมจำนวน 1 ครั้ง
  • 235 บริษัท

สมาคมนักทรัพยากรมนุษย์ อมตะซิตี้ ชลบุรี (HR Association Of AMATA City Chonburi : HRA)

  • จัดประชุมจำนวน 5 ครั้ง
  • 325 บริษัท

ชมรมความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อมตะซิตี้ ชลบุรี (AMATA City Chonburi Safety and Environment Group: ASEG)

  • จัดประชุมจำนวน 1 ครั้ง
  • 215 บริษัท

ชมรมผู้บริหารและจัดการอมตะซิตี้ ระยอง (AMATA City Rayong Management Group; ACMG)

  • จัดประชุมจำนวน 5 ครั้ง
  • 117 บริษัท

การประชุมเรื่องการบริหารจัดการขยะ

  • จัดประชุมจำนวน 1 ครั้ง
  • 300 บริษัท

การประชุมเรื่องการบริหารจัดการน้ำ

  • จัดประชุมจำนวน 1 ครั้ง
  • 264 บริษัท

การประชุม AMATA Fights COVID โดยคุณวิกรม กรมดิษฐ์

  • จัดประชุมจำนวน 3 ครั้ง
  • 700 บริษัท

2. กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

ชมรม CSR อมตะซิตี้ ชลบุรี

  • จัดกิจกรรมจำนวน 4 ครั้ง
  • 184 บริษัท

ชมรม CSR Volunteer อมตะซิตี้ ระยอง

  • จัดกิจกรรมจำนวน 2 ครั้ง
  • 65 บริษัท

การบริหารจัดการข้อร้องเรียนจากลูกค้า

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังจัดให้มีช่องทางในการรับข้อร้องเรียนที่หลากหลายเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย และพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อร้องเรียน (Customer Engagement System) ตามมาตรฐาน ISO 14001: 2015 เพื่อให้ลูกค้าสามารถแจ้งข้อมูลได้โดยตรง และได้รับการจัดการปัญหาในระยะเวลาที่กำหนด 

ในปี 2564 บริษัทฯ ได้รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและการบริการจำนวนทั้งสิ้น 216 รายการ จำแนกเป็นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาในระบบการบริหารจัดการน้ำดิบ น้ำประปาและน้ำเสียจำนวน 170 รายการ คิดเป็นร้อยละ 78.7 ของข้อร้องเรียนทั้งหมด รองลงมาเป็นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสาธารณูปโภคจำนวน 24 รายการ ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาจราจรจำนวน 16 รายการ และข้อร้องเรียนอื่น ๆ จำนวน 6 รายการ คิดเป็นร้อยละ 11.1 ร้อยละ 7.4 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ โดยข้อร้องเรียนทั้งหมดได้ถูกดำเนินการแก้ไข และแจ้งกลับลูกค้าแล้วทั้งสิ้นร้อยละ 100

ความพึงพอใจของลูกค้า

บริษัทฯ ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าโดยการส่งแบบสอบถามไปยังลูกค้า พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดติดต่อกับลูกค้าโดยตรง เพื่อให้บริษัทฯ ทราบถึงปัญหาและความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ผลคะแนนความพึงพอใจของลูกค้า รวมถึงปัญหาและข้อเสนอแนะได้ถูกนำเสนอในที่ประชุมผู้บริหารเพื่อพิจารณาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการทำงานของบริษัทต่อไป โดยในปี 2564 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายความพึงพอใจของลูกค้าจากผลสำรวจของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและผลสำรวจโดยบริษัทฯ ต้องไม่น้อยกว่า 90% 

ในปี 2564 บริษัทฯ ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า พบว่าความพึงพอใจของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรีเท่ากับ 72.81% และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยองเท่ากับ 72.66% โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ทั้งสองพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปีนี้ บริษัทฯ จึงวางแผนที่จะดำเนินการพัฒนากระบวนการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านการจัดตั้ง Customer Community ที่หลากหลายและเฉพาะกลุ่มมากขึ้นเพื่อสำรวจความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้าอย่างใกล้ชิด รวมถึงพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารจัดการข้อร้องเรียนที่ช่วยยกระดับความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์และบริการ

นอกจากนี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำนวน 40 แห่งทั่วประเทศ ผลการสำรวจพบว่านิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ได้รับคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยที่ 90.6% และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยองได้รับคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยที่ 91.8% 

ร่วมสร้างอนาคตไปกับอมตะ

AMATA

Contact us for more details.

Thailand
+66 38 939 007
Vietnam

+84 251 3991 007 (South)
+84 203 3567 007 (North)

Myanmar
+95 1 230 5627
Laos

+85 620 5758 0007

© AMATA CORPORATION PCL. All rights reserved.  Web by Toneyes  Web by Toneyes