การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายสำคัญระดับโลกที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และความยั่งยืนของสังคมโลก
ซึ่งผลกระทบในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนความตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2558 ที่ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อเทียบกับปีฐาน 2558 ลง 20-25% ภายในปี 2573 เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศกลาสโกว์ (Glasgow Climate Pact) ที่สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ลดการใช้ถ่านหินและพลังงานฟอสซิล รวมถึงการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเป้าหมายที่ 13
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นปัจจัยที่ท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เช่น รูปแบบการตกของฝนและปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ภาคตะวันออกที่แตกต่างไปจากในอดีต จนเกิดภาวะน้ำแล้งหรือน้ำท่วมในบางปี นอกจากจะทำให้บริษัทมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น และเกิดความเสี่ยงต่อการบริหารจัดการน้ำซึ่งเป็นปัจจัยหลักของธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องจัดหาน้ำสะอาดที่ได้มาตรฐานให้แก่ผู้ประกอบการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลายกลุ่มในห่วงโซ่คุณค่า เช่น การดำเนินงานของโรงงานผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ของพนักงานโรงงานและชุมชนท้องถิ่นโดยรอบ ที่อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างกันได้
บริษัทฯ มองเห็นถึงโอกาสในการการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อรับมือ และป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น การผลิตและใช้พลังงานสะอาดในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม และการสรรหาเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เป็นต้น จะช่วยบรรเทาผลกระทบในภาคอุตสาหกรรม และช่วยสร้างความเชื่อมั่น รายได้และความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทฯ ต่อไป
บริษัทฯ ได้กำหนดกลยุทธ์และแนวทางการบริหารจัดการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ :
ด้านการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการบริหารจัดการน้ำทุกประเภทอย่างยั่งยืน ได้แก่ น้ำดิบ น้ำใช้ น้ำเสีย และน้ำท่วม โดยพัฒนาโครงการบริหารจัดการน้ำแต่ละประเภทอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัดหาแหล่งสำรองน้ำดิบให้มีมากกว่าความต้องการใช้ในนิคมอุตสาหกรรมอย่างน้อย 150% การนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อลดการพึ่งพาน้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเพื่อเตรียมรับมือและป้องกันภาวะน้ำท่วม และการส่งเสริมผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มให้ตระหนักถึงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ผ่านศูนย์เรียนรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำของอมตะ และโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการจัดการน้ำ
ด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทฯ จึงได้บูรณาการนโยบายการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแผนธุรกิจของบริษัทฯ ในการมุ่งสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ โดยการขับเคลื่อนโครงการเมืองอัจฉริยะ (AMATA Smart City) ที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจากการใช้เทคโนโลยีและแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ และการนำหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ในกระบวนการทำงานและการพัฒนาธุรกิจของกลุ่มอมตะและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทฯ จึงได้บูรณาการ “นโยบายการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดเป้าหมายขององค์กรและแผนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ ที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพภายในปี 2583 และลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม (scope 1 & 2) ต่อหน่วยรายได้ ลงร้อยละ 30 ในปี 2573 เทียบกับปีฐาน 2562
บริษัทฯ ได้จัดทำข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (scope 1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (scope 2) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (scope 3) โดยอ้างอิงวิธีการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ทั้งนี้ ก๊าซเรือนกระจกในแต่ละ scope ที่บริษัทฯ ใช้ในการคำนวณประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) กลุ่มไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC6) เพอร์ฟลูออโร-คาร์บอน (PFCs) ซัลเฟอร์เฮ็กซาฟลูโอไรด์ (SF6) และไนโตรเจนฟลูออไรด์ (NF3) บริษัทฯ ทำการรวบรวมข้อมูลกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อนำมาคำนวณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรปีละ 1 ครั้ง โดยมีขอบเขตการรายงานครอบคลุม 3 พื้นที่ประกอบด้วย สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง เฉพาะในพื้นที่สำนักงานของบริษัทฯ ทั้งสามแห่ง และในพื้นที่ส่วนกลางของนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และอมตะซิตี้ ระยอง ที่ดูแลรับผิดชอบโดยบริษัทฯ
ในปี 2564 บริษัทฯ ได้รับการขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยเป็นข้อมูลของปี 2563
ในปี 2564 บริษัทฯ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (scope 1) จำนวน 470 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อมา (scope 2) จำนวน 11,749 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า รวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม (scope 1 & 2) จำนวน 12,219 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ลดลงร้อยละ 24.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และลดลงร้อยละ 32.1 เทียบกับปีฐาน 2562 โดยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปี 2564 นี้ยังอยู่ในระหว่างการทวนสอบของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (VGREEN) คาดว่าจะดำเนินการเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565
อัตราการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อมต่อหน่วยรายได้ (Combined GHG (scope 1&2) Intensity) ของปี 2564 เท่ากับ 2.1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.2 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562 การลดลงของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยรายได้ เป็นผลมาจากมาตรการ Work from home ของบริษัทฯ ในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้การใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำมันในเดินทางลดลง รวมถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อมาจากภายนอก
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้ไฟฟ้า (scope 2) ที่มาจากกิจกรรมหลักของบริษัทฯ จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการทำงานหลัก ดังนี้
กระบวนการทำงานหลัก | แนวทางการดำเนินงาน |
การใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนกลางของนิคมอุตสาหกรรม |
|
การใช้ไฟฟ้าในระบบปั๊มน้ำ และระบบสปริงเกอร์ |
|
การใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงาน |
|
ในปี 2564 บริษัทปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (scope 3) จำนวนรวม 19,534 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ลดลงร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (scope 3) มาจากการทำงานของผู้รับเหมาในกิจกรรมต่างๆดังนี้
บริษัทฯ จึงสนับสนุนให้ผู้รับเหมานำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิล และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในการดูแลระบบสาธารณูปโภคของบริษัทฯ เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าอีกด้วย
บริษัทฯ มีกิจกรรมหลักที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน ดังนี้
ในปี 2564 บริษัทฯ มีการใช้พลังงานภายในองค์กรรวมทั้งสิ้น 105,947 กิกะจูล ลดลง 16,314 กิกะจูล หรือร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับปี 2563 และมีอัตราการใช้พลังงานต่อหน่วยรายได้ของปี 2564 เท่ากับ 18.14 กิกะจูลต่อล้านบาท ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 16 เนื่องมาจากกิจกรรมการใช้พลังงานภายในบริษัทฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการเดินทางในกิจการของบริษัทฯ และการใช้ไฟฟ้าภายในอาคารสำนักงาน เป็นต้น
บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมพนักงานของบริษัทฯ และผู้เช่าพื้นที่ในอาคารสำนักงานให้มีความรู้เรื่องการลดการใช้พลังงานในอาคาร เน้นการปลูกจิตสำนึกของพนักงานทุกคนให้ร่วมมือกันอนุรักษ์พลังงาน ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เช่น การรณรงค์ให้ปิดเครื่องปรับอากาศและปิดไฟที่ไม่จำเป็น การรณรงค์ให้พนักงานใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ และการปรับอุณหภูมิระบบปรับอากาศภายในสำนักงานไม่ให้ต่ำกว่า 24 องศาเซลเซียส และการปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกครั้งที่ไม่มีการใช้งาน
ในปี 2564 อาคารสำนักงานของบริษัทฯ มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 436,179 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2563 ทั้งนี้การลดลงของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในสำนักงานของบริษัทฯ เนื่องมาจากมาตรการทำงานจากที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานที่กำหนดให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from Anywhere)
บริษัทฯ มีหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่ส่วนกลางของนิคมอุตสาหกรรมในส่วนของการดูแลระบบไฟส่องสว่างบนถนนภายในนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด ในปี 2564 บริษัทฯ ใช้พลังงานในพื้นที่ส่วนกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.29 เนื่องจากมีการขยายการพัฒนาพื้นที่ในเฟสใหม่ จึงมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งไฟส่องสว่างที่ใช้ในทุกพื้นที่ส่วนกลางของนิคมอุตสาหกรรมทั้งสองแห่งเป็นหลอดไฟฟ้าแบบ LED ทั้งหมด (ร้อยละ 100) ภายในนิคมอุตสาหกรรมทั้งสองแห่ง บริษัทฯ ได้ติดตั้งระบบ Smart Control ที่ตู้ควบคุมไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อควบคุมทำงานของระบบไฟฟ้าส่องสว่างให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ยังได้ติดตั้งไฟกระพริบแบบใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Traffic light) ทั้งหมดจำนวน 112 จุด ในพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง เพื่อลดการใช้พลังงงานไฟฟ้าด้วย
บริษัทฯ ส่งเสริมให้บริษัทย่อยในห่วงโซ่อุปทานเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพลังงานและลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะระบบน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใช้พลังงานมากที่สุด บริษัท อมตะ วอเตอร์ จำกัด ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำและน้ำเสียในนิคมอุตสาหกรรมอมตะจึงได้ดำเนินการศึกษาวิธีการนำพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์มาทดแทนพลังงานไฟฟ้าในกระบวนการทำงาน และได้เริ่มติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาของอาคารผลิตน้ำด้วยระบบผลิตน้ำหมุนเวียน (Water Reclamation System) ตั้งแต่ปี 2560
ในปี 2564 บริษัท อมตะ วอเตอร์ จำกัด ได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบทุ่นลอยน้ำเพิ่มเติมในอ่างเก็บน้ำภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี 1 แห่ง ในอ่างเก็บน้ำภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง 1 แห่ง และติดตั้งโซลาร์เซลล์ริมบ่อพักน้ำ 1 แห่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง ทำให้มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้น 2,152 กิโลวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 426.28 จากกำลังผลิตในปี 2563 รวมปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้ในปี 2564 เท่ากับ 3.81 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,647.28 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
+84 251 3991 007 (South)
+84 203 3567 007 (North)
+85 620 5758 0007
© AMATA CORPORATION PCL. All rights reserved. Web by Toneyes