บริษัทฯ ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้ บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียในทุกกิจกรรมของธุรกิจหลักตลอดห่วงโซ่คุณค่า และได้กำหนดแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชนสากล บริษัทฯ ตระหนักดีว่าศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์นั้น ควรได้รับความคุ้มครอง จึงยึดมั่นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนเสมอมา
บริษัทฯ ดูแลพื้นที่เมืองขนาดใหญ่และเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก หากบริษัทฯ ไม่มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน อาจทำให้บริษัทฯ เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในประเทศและระดับสากล
หากบริษัทฯ มีการประเมินความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดจากกิจกรรมของบริษัทฯ หรือคู่ค้าและผู้รับเหมา ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์และส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่มีต่อบริษัทฯ
บริษัทฯ กำหนดให้ คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ต้องตระหนักถึงความสำคัญและเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในทุกด้านของบุคคลทุกคน ทั้งต่อพนักงาน ลูกค้า คู่ค้าและผู้รับเหมา ชุมชน ตลอดจนสังคมโดยรวม ตามกฎหมายแต่ละประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ และพร้อมสนับสนุนตามสนธิสัญญาที่แต่ละประเทศมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติ โดยรวมถึงหลีกเลี่ยงการกระทำและการมีส่วนร่วมในการอันละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือสร้างผลกระทบเชิงลบด้านสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ขยายความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนไปยังคู่ธุรกิจ คู่ค้าและผู้รับเหมา โดยส่งเสริมให้คู่ธุรกิจ คู่ค้าและผู้รับเหมาในห่วงโซ่คุณค่าเคารพในสิทธิมนุษยชนเช่นกัน และดำเนินธุรกิจตามหลักการที่ระบุไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าของบริษัท (Supplier Code of Conduct)
บริษัทฯ มี “นโยบายการแจ้งเบาะแส” (Whistleblowing Policy) และจัดให้มีช่องทางการสื่อสารต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย สามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนใดๆ และบริษัทฯ มีกระบวนการพิจารณาและจัดการข้อร้องเรียนอย่างรอบคอบ ยุติธรรม และโปร่งใส พนักงานผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณของบริษัทฯ จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่กำหนดไว้ นอกจากนี้อาจจะได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
ในปีนี้ บริษัทฯ ได้ระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มตลอดห่วงโซ่อุปทานโดยครอบคลุมกิจกรรมในหน่วยงานร้อยละ 90 ของหน่วยงานทั้งหมด และมีการดำเนินงานเพื่อตอบสนองหรือป้องกันการเกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นดังกล่าว แต่ยังไม่ได้ทำการประเมินและตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) อย่างเต็มรูปแบบตามหลักการชี้นำของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) ซึ่งบริษัทฯ มีแผนการดำเนินงานในเรื่องนี้ภายในปี 2566 เพื่อให้เชื่อมั่นว่า การบริการ การปฏิบัติด้านแรงงาน การปฏิบัติต่อคู่ธุรกิจและคู่ค้า การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน การร่วมลงทุน จะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบด้านสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง
การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
Stakeholder | Human Rights Issue | Company’s Implementation of Human Rights Impact Reduction |
---|---|---|
พนักงาน | สิทธิแรงงานตามกฎหมาย
|
|
ชุมชน | สิทธิชุมชนตามกฎหมาย
|
|
ลูกค้า | สิทธิของลูกค้าตามกฎหมาย
|
|
คู่ค้าและผู้รับเหมา | สิทธิของคู่ค้าและผู้รับเหมาตามกฎหมาย
|
|
ตลอดระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ยึดปรัชญา ALL WIN ในการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด โดยมีเป้าหมายให้ผู้มีส่วนได้เสีย ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ ได้รับประโยชน์และเติบโตไปพร้อมกับบริษัทฯ อย่างยั่งยืนในทุกมิติ แม้ว่า ประเด็นด้านสิทธิเด็ก จะยังไม่ถูกยกระดับขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ แต่การขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมที่บริษัทฯ ดำเนินการในทุกพื้นที่ย่อมเกี่ยวข้องทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ต่อคุณภาพชีวิต โอกาส และการเจริญเติบโตในสังคมของเด็ก ที่อาศัยอยู่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะทั้งสองแห่ง อีกทั้งในปัจจุบัน ประเด็นด้านสิทธิเด็กถูกให้ความสำคัญในระดับสากล บริษัทฯ จึงคำนึงถึงการดำเนินงานที่เคารพต่อสิทธิเด็กตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจด้วย
บริษัทฯ ได้ใช้หลักการ “สิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ” (Children’s Right and Business Principle; CRBP) โดยองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) มาเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เคารพต่อสิทธิเด็ก ประกอบไปด้วย 4 หลักการที่ธุรกิจจะสร้างผลกระทบต่อเด็กคือ 1) การสนับสนุนให้เด็กสมารถดำรงชีวิตได้ (Survival) 2) การปกป้องเด็กจากความรุนแรง (Protection) 3) การพัฒนาที่เหมาะสม (Development) และ 4) การเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วม (Participation) โดยกำหนดกรอบการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองสมบูรณ์แบบที่สร้างโอกาสให้กับเด็ก และตอบสนองต่อหลักการ CRBP ดังนี้
เพื่อสร้างสังคมที่ร่วมป้องกัน (Protection) และสนับสนุนการดำรงชีวิตอย่างปลอดภัย (Survival) โดยบริษัทฯ ได้ประกาศนโยบาย และหลักจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าและผู้รับเหมา (supplier code of conduct) ที่ป้องกันไม่ให้ใช้แรงงานเด็กอย่างเคร่งครัด รวมถึงกระบวนการดำเนินธุรกิจที่ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ เช่น การพัฒนาเมืองสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (smart environment) ที่ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ การบริหารจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ และลดการฝังกลบ (zero waste to landfill) เป็นต้น
บริษัทฯ ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้เด็กในชุมชนโดยรอบมีโอกาสในการเข้าถึงสาธารณูปโภค และบริการต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และศูนย์การค้า
บริษัทฯ ได้ผสานความร่วมมือของหุ้นส่วนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ในการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ และการศึกษาขึ้นอย่างหลากหลายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ทั้งสองแห่ง เช่น ศูนย์การเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำ ห้องการเรียนรู้อัจฉริยะ (smart classroom) พื้นที่สวนสาธารณะเพื่อการนันทนาการ
ในปี 2564 บริษัทฯ ไม่ได้รับการร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่มีนัยสำคัญจากผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงไม่มีการรายงานด้านการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนจากทั้งคู่ค้า ผู้รับเหมา และจากลูกค้า โดยคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ได้มีการรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน และข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนที่รวบรวมจากช่องทางต่าง ๆ ต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ และคณะกรรมการบริษัทรับทราบ
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้มีการจัดอบรมหลักสูตร “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน” โดยวิทยากรจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 เพื่อให้พนักงานเข้าใจหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน และแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ โดยมีผู้บริหาร และพนักงานเข้าร่วมอบรมจำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 54.6 ของพนักงานทั้งหมด
+84 251 3991 007 (South)
+84 203 3567 007 (North)
+85 620 5758 0007
© AMATA CORPORATION PCL. All rights reserved. Web by Toneyes