การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่องด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี บนทำเลที่ตั้งเชิงกลยุทธ์ของบริษัท จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและแนวโน้มของโลกที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) มากขึ้นส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท
บริษัทฯ อาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ และความสามารถในการแข่งขัน หากไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของทั้งลูกค้าปัจจุบัน และลูกค้าในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเพิ่มเติมจากความต้องการขั้นพื้นฐานได้
นอกจากนี้การเข้ามาของคู่แข่งทางธุรกิจบริการและสาธารณูปโภครายใหม่ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วกว่า ทำให้การแข่งขันในตลาดรุนแรงยิ่งขึ้น บริษัทฯ อาจสูญเสียรายได้จากการขายสินค้าและบริการอย่างมีนัยสำคัญ
บริษัทฯ มีกลุ่มลูกค้าที่เป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย การมีส่วนร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดส่งผลให้บริษัทฯ สามารถติดตามและรับรู้การเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าได้ เพิ่มโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และครบวงจร พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อรองรับลูกค้าในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve industries) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการจึงมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการ สามารถแก้ปัญหาและสนับสนุนความสำเร็จทางธุรกิจให้กับลูกค้าได้ในระยะยาว และตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทางตรงที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีในการอยู่ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและเกิดคุณค่าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ได้กำหนดกรอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ “Products & Services Development Framework” ในการออกแบบสินค้าและบริการที่สามารถส่งมอบคุณค่าสูงสุดให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมโยงกับลูกค้า (Stakeholder Engagement) ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อสำรวจ ประเมิน และวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าทั้งกลุ่มลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าที่มีศักยภาพในอนาคตทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ประกอบกับการวิเคราะห์แนวโน้ม และ Mega Trends ที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นำข้อมูลที่ได้มาประเมินผลกระทบ ความเร่งด่วน และระดับความสำคัญ เพื่อระบุวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ และเตรียมพร้อมทางด้านการตลาด การร่วมมือกับหุ้นส่วนกลยุทธ์ทางธุรกิจ และการบริหารจัดการนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Innovation) เพื่อออกแบบสินค้าและบริการที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และมีการติดตามรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2565 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายในการพัฒนา Sprint Team จากกลุ่มพนักงานศักยภาพสูง (Talent) และพนักงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
บริษัทได้พัฒนา Customer Communities เพื่อใช้เป็นช่องทางในการเชื่อมโยงกับลูกค้าปัจจุบันที่ดำเนินธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมของอมตะเพื่อความสัมพันธ์อันดี และการสื่อสารเพื่อสำรวจความคิดเห็น ความต้องการ และปัญหาต่าง ๆ ของลูกค้า โดยประเด็นที่ได้จะถูกนำไปพิจารณาเพื่อพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดสินค้าและการให้บริการต่าง ๆ ผลการดำเนินงานในปี 2564 มีดังนี้
วัตถุประสงค์: เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้าญี่ปุ่นของบริษัทที่ดำเนินกิจการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และ อมตะซิตี้ ระยอง เนื่องลูกค้ากลุ่มใหญ่เป็นบริษัทญี่ปุ่นถึง 63% และ 29% ตามลำดับ
สมาชิก: ผู้ประกอบการญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี จำนวน 190 บริษัท และผู้ประกอบการญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง จำนวน 45 บริษัท รวมทั้งหมด จำนวน 235 บริษัท
บริการหลังการขายที่มีคุณภาพ:
Hotel Nikko Amata City Chonburi
บริษัทฯ ร่วมกับ บริษัท Fujita Corporation Co., Ltd. และ Japanese Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (JOIN) เพื่อพัฒนาโรงแรม Hotel Nikko Amata City Chonburi ซึ่งเป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว และพื้นที่อำนวยความสะดวกในการพักอาศัยใกล้สถานที่ทำงานของผู้ประกอบการและนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งจะเปิดบริการในปี 2565
วัตถุประสงค์: เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภายในสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี เพื่อส่งเสริมการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการสัมมนาเสริมสร้างทักษะ ความรู้ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จากวิทยากรมืออาชีพ
สมาชิก: มีสมาชิกทั้งสิ้น 325 บริษัท โดยมีการจัดกิจกรรมประชุมประจำเดือน รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง
บริการหลังการขายที่มีคุณภาพ:
- การสนับสนุนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย
การบริหารจัดการขยะ
- การติดตามเส้นทาง หรือการตรวจสอบข้อมูลการบริหารจัดการขยะแบบ Realtime
บริการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง:
บริการการบริหารจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ
- ร่วมมือกับ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี พัฒนาโปรแกรมระบบการจัดการการขนส่งขยะอัจฉริยะ (KoomKah Smart Manifest) เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการบริหารข้อมูลการจัดเก็บขยะภายในนิคมอุตสาหกรรมฯ และมุ่งสู่เมืองอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม (Smart Environment) ในอนาคต
วัตถุประสงค์: เพื่อให้คำปรึกษา สนับสนุน และประสานประโยชน์ทั้งในส่วนของสมาชิก นายจ้าง ลูกจ้าง หน่วยราชการ และองค์กรอื่น ๆ เพื่อความสำเร็จในการจัดการกับปัญหาในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในทุกสถานประกอบการให้มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นไปตามกฎหมายกำหนด
สมาชิก: บริษัทผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ทั้งสิ้น 215 บริษัท
การบริหารความเสี่ยงและภาวะฉุกเฉินของนิคมฯ
บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อภายในโรงงาน
- บริษัทฯ ได้พัฒนาบริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อในพื้นที่โรงงานเพื่ออำนวยความสะดวก และดูแลลูกค้าให้ปลอดภัยในช่วงการระบาดของโรค COVID-19
บริการจัดการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
- การอบรมหลักสูตร “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน (จป.หัวหน้างาน)”
บริการการฝึกอบรมออนไลน์
- บริษัทฯ ได้พัฒนาแผนการอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ และเพิ่มรูปแบบการอบรมออนไลน์มากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง รวมทั้งการให้คำปรึกษาหรือแนวทางในการประกอบกิจการโรงงานให้สอดคล้องตามข้อกำหนดกฎหมาย สัมมนาเสริมสร้างทักษะ ความรู้ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จากวิทยากรมืออาชีพ
สมาชิก: ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง จำนวน 117 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 28.2 ของผู้ประกอบการทั้งหมด และมีการจัดกิจกรรมประชุมร่วมกันจำนวน 5 ครั้ง
การบริหารจัดการขยะ
- การให้คำปรึกษาด้านการจัดการขยะประเภทต่างๆ ในโรงงาน
การบริหารความเสี่ยงและภาวะฉุกเฉินของนิคมฯ
- การฝึกอบรมอพยพหนีไฟแบบบูรณาการ และการจัดทำแผนป้องกันเหตุฉุกเฉินร่วมกัน
บริการการฝึกอบรมดับเพลิง
- บริษัทฯ พัฒนารูปแบบการให้บริการการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ และการดับเพลิงภายในโรงงานแบบบูรณาการ โดยจัดทำแผนบริหารภาวะฉุกเฉินร่วมกับลูกค้า เพื่อป้องกัน และลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
บริการให้คำปรึกษาด้านการจัดการขยะ
- บริษัทฯ ให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการขยะประเภทต่าง ๆ ภายในโรงงานโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมให้ลูกค้าสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้อง
ในหลายปีที่ผ่านมา ประเทศเวียดนามมีความโดดเด่นจากมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ในประเทศเวียดนามในภาคการผลิตเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศจีนและญี่ปุ่น แม้ในช่วงแรกของการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศเวียดนามจะส่งผลต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศ (GDP) ที่ลดต่ำลงจากการชะลอการลงทุนในภาคการผลิต แต่การบริหารจัดการและการควบคุมการแพร่ระบาดที่มีประสิทธิภาพในช่วงต้นปี 2564 ทำให้ระบบนิเวศการลงทุนภาคการผลิตในประเทศเวียดนามกลับมาตื่นตัวอีกครั้งตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปี 2564 และการคาดการณ์ของธนาคารโลก ประเมินศักยภาพของประเทศเวียดนามจะมีการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ในช่วงปี 2565 จากร้อยละ 2.6 ในปี 2564 ดังนั้นประเทศเวียดนามจึงเป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีอัตราการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจจากวิกฤต COVID-19 ที่ค่อนข้างน่าจับตามอง
บริษัทฯ ได้มีการขยายการลงทุนไปในประเทศเวียดนามตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งนับเป็นเวลา 28 ปีที่บริษัทฯ มีประสบการณ์ในการลงทุนในประเทศเวียดนาม ปัจจุบันบริษัทฯ พัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมและเมืองภายใต้แนวคิด “Perfect Smart City” ในประเทศเวียดนามจำนวน 6 โครงการ มีที่ดินที่ได้รับอนุมัติ Investment Registration Certificate แล้วทั้งหมด 2,616 เฮกแตร์ หรือ 16,350 ไร่ ในภูมิภาคเวียดนามใต้ และเวียดนามเหนือ ซึ่งในช่วงปี 2564 โครงการของบริษัทฯ ในประเทศเวียดนาม ซึ่งบริหารงานโดยบริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) มีการเติบโตเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และพลังงานสะอาด ที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงวิกฤต COVID-19 และบริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) ได้มีการร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นเวียดนามใน Amata Service City Long Thanh 1 Co., Ltd. และ Amata Service City Long Thanh 2 Co., Ltd. เพื่อพัฒนาโครงการเมืองพาณิชยกรรม ที่รองรับการขยายตัวในภูมิภาค Long Thanh ในปัจจุบัน
หลังจากประเทศจีนได้ประกาศโครงการ Belt & Road Initiative (BRI) ในปี 2556 เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมต่อเศรษฐกิจจีน กับภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ซึ่งประเทศลาวเป็นหนึ่งในเส้นทางทางบกที่จะเชื่อมต่อสินค้าจากประเทศจีนผ่านภาคเหนือของประเทศลาว มายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทางรถไฟความเร็วปานกลาง จึงทำให้เกิดการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะทางรถไฟจีน-ลาว ตั้งแต่เมืองบ่อเต็นซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนและลาว ไปจนถึงนครเวียงจันทร์ รวมระยะทางกว่า 1,035 กิโลเมตร และเริ่มเดินรถในช่วงปลายปี 2564
การเกิดขึ้นของทางรถไฟจีน-ลาว นับว่าเป็นโอกาสการเชื่อมต่อเศรษฐกิจในประเทศจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีศักยภาพสูง และด้วยวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ในการพัฒนาเมืองสมบูรณ์ที่สร้างโอกาสให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม บริษัทฯ เล็งเห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจในประเทศลาว จึงได้จัดตั้ง AMATA City Lao Sole Co., Ltd. ขึ้นในปี 2563 เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะและนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศลาว ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในช่วงต้นปี 2565
อย่างไรก็ตามการพัฒนาธุรกิจในประเทศลาวนั้น บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น บริษัทฯ จึงได้นำต้นแบบการดูแล รักษา และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการในประเทศไทย ไปประยุกต์ใช้ในโครงการที่ประเทศลาว เช่น นโยบายการจัดการน้ำและของเสีย การดูแลและพัฒนาพื้นที่สีเขียวภายในนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงนโยบายการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อสร้างสมดุลแห่งการเติบโต ตามปรัชญาธรุกิจ ALL WIN ของบริษัทฯ
บริษัทฯ ได้เริ่มพัฒนาโครงการ ย่างกุ้ง อมตะ สมาร์ท แอนด์ อีโค ซิตี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง East Dagon และ South Dagon ในภูมิภาคย่างกุ้ง ประเทศพม่า เฟสแรกของโครงการมีพื้นที่ประมาณ 5,508 ไร่ หรือ 8.09 ตารางกิโลเมตร ดำเนินการโดย บริษัท อมตะเอเชีย (เมียนมาร์) จำกัด
บริษัทฯ ขับเคลื่อนโครงการ ย่างกุ้ง อมตะ สมาร์ท แอนด์ อีโค ซิตี้ ตามกรอบการบริหารความยั่งยืนของกลุ่มอมตะ ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาโครงการให้เป็น “เมืองน่าอยู่” ที่กิจกรรมการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตได้รับความสะดวกสบายจากเทคโนโลยีและการออกแบบของเมืองอัจฉริยะ นอกจากนี้ โครงการนี้ยังสอดคล้องและสนับสนุนแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศเมียนมาในหลักการที่ 2 เป้าหมายที่ 3 ได้แก่ “การสร้างงานและภาคเอกชนนำไปสู่การเติบโต”
อย่างไรก็ตาม ความผันผวนทางการเมืองและสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศเมียนมาช่วงต้นปี 2564 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อนักลงทุนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศเมียนมา รวมถึงบริษัทฯ ภายหลังจากสถานการณ์ดังกล่าวบริษัทฯ ได้ดำเนินการตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะฉุกเฉินอย่างทันที ด้วยการดูแลและรักษาความปลอดภัยของพนักงานเป็นอันดับแรก รวมถึงมาตรการบรรเทาความเสี่ยงด้านการเงินตามมติคณะกรรมการบริษัท และผู้ถือหุ้นในการชะลอการลงทุนในประเทศเมียนมาจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
และลดผลกระทบทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนบริษัทฯ ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น บริษัทฯจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรตั้งแต่การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงนวัตกรรม และความรู้ความสามารถของบุคลากรในบริษัทฯ ตามที่ได้กำหนดไว้ในคุณลักษณะของการเป็นคนอมตะ (AMATA DNA) ในเรื่อง Innovative การมีความคิดสร้างสรรค์ ลองคิดสิ่งใหม่เพื่อการพัฒนา ซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในทุกระดับ
ในปี 2564 บริษัทฯ ได้พัฒนากระบวนการบริหารจัดการนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Innovation Management Process) ขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการนวัตกรรมของบริษัทฯ ส่งเสริมกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
โดยบริษัทฯ ได้มีวิธีการในการจัดหานวัตกรรมที่สอดคล้องกับธุรกิจ (INPUT) อยู่ 2 แนวทาง คือ 1) การร่วมมือกับหุ้นส่วนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อพัฒนานวัตกรรม (EXTERNAL) และ 2) การส่งเสริมให้พนักงานของบริษัทฯ เป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมทางธุรกิจ (INTERNAL) โดยนวัตกรรมที่ได้นั้นไม่ว่าจะเป็นเพียงแนวคิด หรือโครงการที่ดำเนินการแล้ว บริษัทฯ จะสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในการพัฒนาเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม (VALUE-ADDED) ก่อนส่งมอบคุณค่านั้นให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียต่อไป
บริษัทฯ วางกลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและโครงการย่อยผ่านหุ้นส่วนกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Strategic Business Partners) เพื่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพสูง บริษัทฯ จึงได้ร่วมมือกับบริษัทและองค์กรชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศที่เป็นผู้นำในด้านต่างๆ พัฒนาโครงการธุรกิจใหม่ภายใต้กรอบแนวคิดเมืองอัจฉริยะอมตะ
การร่วมมือกับบริษัทและองค์กรชั้นนำเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้โครงการต่างๆ แล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้แนวคิด เทคโนโลยีใหม่ ๆ จากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เพื่อสร้างกระบวนการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) และสามารถต่อยอดไปยังการวิจัย และคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน
โดยในปี 2564 บริษัทฯ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหุ้นส่วนกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญ ดังนี้
บริษัทฯ ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับได้แสดงศักยภาพและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานของบริษัทฯ โดยทุกปี บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประกวดโครงการ (Innovation Project) และแนวคิดด้านนวัตกรรม (Innovation Idea) เพื่อเป็นพื้นที่ที่ช่วยให้พนักงานได้แสดงศักยภาพ และเสนอแนวความคิดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการทำงานร่วมกัน
ในปี 2564 บริษัทฯ ได้จัดโครงการประกวด “AMATA INNO Awards 2021” โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกโครงการที่มีศักยภาพเพื่อนำไปต่อยอด และพัฒนาในอนาคต มีการกำหนดรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจให้พนักงานส่งโครงการและแนวคิดด้านนวัตกรรมเข้าร่วมโครงการโดยได้รับการสนับสนุนเงินรางวัลจากทุนทรัพย์ส่วนตัวจากคุณวิกรม กรมดิษฐ์ เป็นจำนวน 2 ล้านบาท ในปีนี้มีพนักงานเข้าร่วมโครงการกว่า 74 คน จาก 29 ทีม และมีโครงการและแนวคิดด้านนวัตกรรมที่เข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 9 โครงการ และ 29 แนวคิด รวมทั้งสิ้น 38 ชิ้นงาน โดยมีจำนวนโครงการและแนวคิดด้านนวัตกรรมที่พนักงานส่งเข้าร่วมประกวดรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 40.7
จากข้อมูลโครงการด้านนวัตกรรม (Innovation Project) ที่ได้ดำเนินการแล้วระหว่างปี 2563-2564 พบว่าสามารถ ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานไปได้ทั้งสิ้น 11.93 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้สามารถจำแนกเป็นโครงการที่ช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจำนวน 3 โครงการ และโครงการนวัตกรรมด้านสังคมจำนวน 6 โครงการ
สามารถจำแนกโครงสร้างรายได้หลักออกเป็น 3 ส่วนคือ รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 2,196.28 ล้านบาท รายได้จากค่าสาธารณูปโภคและบริการ จำนวน 1,976.55 ล้านบาท และรายได้จากการให้เช่าและอื่น ๆ จำนวน 923.98 ล้านบาท
+42.56% YoY
แม้ว่าในปี 2564 จะยังคงมีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 แต่บริษัทฯ มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 42.56 เนื่องจากบริษัทฯ มีการโอนที่ดินทั้งในประเทศและต่างประเทศในปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 การปรับเพิ่มขึ้นนี้ มีสาเหตุหลักมาจากการฟื้นตัวของสภาวะการลงทุนในปี 2564 นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อการขยายการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมบางประเภท ในพื้นที่โครงการของบริษัทฯ เช่น Data Center และกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบริษัทฯ สามารถตอบสนองความต้องการลงทุนในพื้นที่ที่มีความมั่นคงทางพลังงาน และสาธารณูปโภคที่มีความพร้อมได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ในปี 2564 ภาคธุรกิจเริ่มปรับตัวได้และเร่งการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้าที่กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่การใช้จ่ายชะลอลงในช่วงก่อนหน้า จึงทำให้รายได้จากค่าสาธารณูปโภคและบริการ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 7.35 และรายได้จากการให้เช่าอาคารโรงงานสำเร็จรูปของบริษัทฯ มีการเติบโตขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 12.63
+84 251 3991 007 (South)
+84 203 3567 007 (North)
+85 620 5758 0007
© AMATA CORPORATION PCL. All rights reserved. Web by Toneyes