ลูกค้าเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการและความยั่งยืนของบริษัทฯ ประสบการณ์ของลูกค้าที่ได้รับจากบริษัทฯ จึงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท ฯ ที่มีผลต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจของลูกค้า หากบริษัทไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันได้ อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อบริษัทฯ และชื่อเสียงในระดับภูมิภาคและระดับโลก เนื่องจากกลุ่มลูกค้าปัจจุบันเป็นผู้นำในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และมีเครือข่ายกว้างขวาง รวมถึงคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานที่อยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม เชื่อมโยงกันทั่วโลก จึงอาจจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมที่บริษัทฯ ดำเนินการอยู่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศของนักลงทุนและกลุ่มลูกค้าในอนาคตได้
การที่ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีและพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ด้วยการดึงดูดให้เกิดการซื้อ และการใช้บริการซ้ำ เกิดการแนะนำบอกต่อ และสร้างชื่อเสียงและความเชื่อมั่นให้กับบริษัทฯ อันนำมาซึ่งการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดทำให้บริษัทฯ ได้รับทราบทัศนคติและความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบริการที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้นแล้ว ทั้งยังช่วยให้บริษัทฯ สามารถติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในอนาคตได้อีกทางหนึ่ง
ความสำเร็จของลูกค้าหรือผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการเจริญโตทางเศรษฐกิจของบริษัทฯ ในระยะยาว บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นในการสร้างและบริหารความสัมพันธ์ที่ดีผ่านช่องทางการมีส่วนร่วมต่าง ๆ เพื่อสร้างความผูกพัน และความเชื่อมั่นในฐานะหุ้นส่วนความสำเร็จทางธุรกิจที่จะเติบโตไปด้วยกัน ในปี 2566 บริษัทฯ ดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ดังนี้
1. การประชุมระหว่างบริษัทฯ และลูกค้า
งดการจัดประชุม
การบริหารจัดการข้อร้องเรียนจากลูกค้า
ในปี 2566 บริษัทฯ ได้รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและการบริการจำนวนทั้งสิ้น 392 รายการ จำแนกเป็นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาในระบบการบริหารจัดการน้ำดิบ น้ำประปาและน้ำเสียจำนวน 203 รายการ คิดเป็นร้อยละ 51.79 ของข้อร้องเรียนทั้งหมด รองลงมาเป็นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการจราจรจำนวน 132 รายการ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสาธารณูปโภคพื้นฐานจำนวน 57 รายการ คิดเป็นร้อยละ 33.67 และร้อยละ 14.54 ตามลำดับ โดยข้อร้องเรียนทั้งหมดได้ถูกดำเนินการแก้ไข และแจ้งกลับลูกค้าแล้วทั้งสิ้นร้อยละ 100
ในปี 2565 บริษัทฯ ได้รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและการบริการจำนวนทั้งสิ้น 216 รายการ จำแนกเป็นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาในระบบการบริหารจัดการน้ำดิบ น้ำประปาและน้ำเสียจำนวน 170 รายการ คิดเป็นร้อยละ 78.7 ของข้อร้องเรียนทั้งหมด รองลงมาเป็นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสาธารณูปโภคจำนวน 24 รายการ ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาจราจรจำนวน 16 รายการ และข้อร้องเรียนอื่น ๆ จำนวน 6 รายการ คิดเป็นร้อยละ 11.1 ร้อยละ 7.4 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ โดยข้อร้องเรียนทั้งหมดได้ถูกดำเนินการแก้ไข และแจ้งกลับลูกค้าแล้วทั้งสิ้นร้อยละ 100
ความพึงพอใจของลูกค้า
บริษัทฯ ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นประจำทุกปีด้วยวิธีตอบแบบสอบถามและวิธีติดต่อโดยตรงจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของโรงงานผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรมโดยตรงเพื่อรับทราบถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าในอนาคต ตลอดจนปัญหาและข้อกังวลใจของลูกค้าที่ต้องการการสนับสนุนจากบริษัทฯ เช่น ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การช่วยเหลือประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในด้านกฎระเบียบข้อบังคับและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นเรื่อง ESG ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังได้จัดสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำนวน 46 แห่งทั่วประเทศอีกทางหนึ่ง ซึ่งบริษัทฯ ตั้งเป้าหมายความพึงพอใจของลูกค้าจากผลสำรวจของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ต้องไม่น้อยกว่า 90% โดยผลคะแนนความพึงพอใจของลูกค้า รวมถึงปัญหาและข้อเสนอแนะจากผลการสำรวจทั้งจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและบริษัทฯ ได้ถูกนำเสนอในที่ประชุมผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อพิจารณาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการทำงานของบริษัทต่อไป
ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อนิคมอุตสาหกรรมอมตะทั้งสองแห่ง ในด้านสินค้าและการบริการรวม 12 ด้าน ประกอบด้วย 1. การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย 2. ถนน สัญญาณไฟจราจร ป้าย และไฟถนน 3. การรักษาความปลอดภัยและความปลอดภัย 4. การจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินและภาวะวิกฤต 5. การจัดการพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว 6. การจัดการขยะมูลฝอย 7. การบริการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ต 8. การให้บริการในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย 9.ราคาและค่าธรรมเนียมที่ดิน ค่าเช่า ค่าบริการสาธารณูปโภคและค่าบำรุงรักษา 10.การบริการของพนักงานบริษัทฯ 11.ช่องทางการสื่อสารและการจัดกิจกรรม และ 12.ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรม ผลคะแนนความพึงพอใจของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ทั้งสองพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มีการวางแผนพัฒนากระบวนการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านการจัดตั้ง Customer Community ที่หลากหลายและเฉพาะกลุ่มมากขึ้นเพื่อสำรวจความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้าอย่างใกล้ชิด รวมถึงพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารจัดการข้อร้องเรียนที่ช่วยยกระดับความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์และบริการ นอกจากนั้นยังมีการนำประเด็นข้อกังวลใจหรือข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าของบริษัทฯ ในปี 2566 ไปวางแผนดำเนินการเพื่อแก้ไขหรือพัฒนาการดำเนินงานของบริษัทฯ ต่อไป
ส่วนการสำรวจโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ได้จัดสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำนวน 46 แห่งทั่วประเทศประจำปี 2566 ในด้านต่าง ๆ 7 ด้าน ประกอบไปด้วย 1. ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ 2. ด้านราคาขาย/เช่าพื้นที่/ค่าบำรุงรักษา/ค่าน้ำ/ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ 3. ด้านจุดให้บริการผู้ใช้บริการ 4. ด้านช่องทางการติดต่อสื่อสาร 5. ด้านคุณภาพของพนักงาน 6. ด้านขั้นตอนและกระบวนการให้บริการ และ 7. ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ พบว่านิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ได้รับคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยที่ 94% และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ได้รับคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยที่ 92.6% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่บริษัทฯ ตั้งไว้
+84 251 3991 007 (South)
+84 203 3567 007 (North)
+85 620 5758 0007
© AMATA CORPORATION PCL. All rights reserved. Web by Toneyes