ความเสี่ยง

ปัจจุบันผู้ประกอบการและนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างให้ความสำคัญกับแนวโน้มของโลกที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) มากขึ้น ตลอดจนกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงภาคประชาชนที่มีความสนใจต่อผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของตนเองมากขึ้น ดังนั้น บริษัทฯ อาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ และความสามารถในการแข่งขัน หากไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของทั้งลูกค้าปัจจุบัน และลูกค้าในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเพิ่มเติมจากความต้องการขั้นพื้นฐานได้ เช่น ความต้องการของลูกค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงาน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้การเข้ามาของคู่แข่งทางธุรกิจบริการและสาธารณูปโภครายใหม่ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วกว่า ทำให้การแข่งขันในตลาดรุนแรงยิ่งขึ้น บริษัทฯ อาจสูญเสียรายได้จากการขายสินค้าและบริการอย่างมีนัยสำคัญ

โอกาส

บริษัทฯ มีกลุ่มลูกค้าที่เป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย การมีส่วนร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดส่งผลให้บริษัทฯ สามารถติดตามและรับรู้การเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าได้ เพิ่มโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และครบวงจร พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อรองรับลูกค้าในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve industries) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว นอกจากนี้ การมีผลิตภัณฑ์และบริการที่ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะทำให้ชุมชนมีความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และสามารถอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมได้ในระยะยาว

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ มุ่งมั่นพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอมตะ ภายใต้แนวคิดเมืองสมบูรณ์แบบที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มแบบ ALL WIN ด้วยหลักการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นศูนย์กลาง (Stakeholder Centric) การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการจึงมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการ สามารถแก้ปัญหาและสนับสนุนความสำเร็จทางธุรกิจให้กับลูกค้าได้ในระยะยาว และตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทางตรงที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีในการอยู่ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและเกิดคุณค่าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

          บริษัทฯ ได้กำหนดกรอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ “Products & Services Development Framework” ในการออกแบบสินค้าและบริการที่สามารถส่งมอบคุณค่าสูงสุดให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมโยงกับลูกค้า (Stakeholder Engagement) ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อสำรวจ ประเมิน และวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าทั้งกลุ่มลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าที่มีศักยภาพในอนาคตทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ประกอบกับการวิเคราะห์แนวโน้ม และ Mega Trends ที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นำข้อมูลที่ได้มาประเมินผลกระทบ ความเร่งด่วน และระดับความสำคัญ เพื่อระบุวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ และเตรียมพร้อมทางด้านการตลาด การร่วมมือกับหุ้นส่วนกลยุทธ์ทางธุรกิจ และการบริหารจัดการนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Innovation) เพื่อออกแบบสินค้าและบริการที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และมีการติดตามรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ พัฒนา Sprint Team จากกลุ่มพนักงานศักยภาพสูง (Talent) และพนักงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

การสร้างความเชื่อมโยงกับลูกค้า

บริษัทได้พัฒนา Customer Communities เพื่อใช้เป็นช่องทางในการเชื่อมโยงกับลูกค้าปัจจุบันที่ดำเนินธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมของอมตะเพื่อความสัมพันธ์อันดี และการสื่อสารเพื่อสำรวจความคิดเห็น ความต้องการ และปัญหาต่าง ๆ ของลูกค้า โดยประเด็นที่ได้จะถูกนำไปพิจารณาเพื่อพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดสินค้าและการให้บริการต่าง ๆ ผลการดำเนินงานในปี 2566 มีดังนี้

นอกจากนี้ ในปี 2565 บริษัทฯ ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงลึกโดยการสัมภาษณ์ลูกค้าที่เป็นตัวแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกไปดำเนินการวิเคราะห์ประกอบการปรับปรุงแผนกลยุทธ์องค์กร และพัฒนาผลิตภัณ

นอกจากนี้ ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงลึกโดยการสัมภาษณ์ลูกค้าที่เป็นตัวแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ  เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกไปดำเนินการวิเคราะห์ประกอบการปรับปรุงแผนกลยุทธ์องค์กร และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ พบว่า วิกฤตทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวทั่วโลกในการบริหารจัดการประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในทุกภาคส่วนเพื่อลดโอกาสและความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้น กลายเป็นแรงผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศทั่วโลกประกาศใช้นโยบาย มาตรการ ระเบียบปฏิบัติ รวมถึงกฎหมายใหม่ ๆ และความต้องการให้เปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อป้องกันและควบคุมผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของนักลงทุนชั้นนำจากทั่วโลก ที่มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ และกฎหมายของประเทศคู่ค้าสำคัญต่าง ๆ และปฏิบัติตามนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมจากบริษัทแม่ในต่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตลอดจนต้องผลิตสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของลูกค้าในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก  ผู้ประกอบการโรงงานจึงมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการที่เป็นไปตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน และมีข้อมูลที่ชัดเจนสามารถอ้างอิงได้ในการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน

ฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ พบว่า วิกฤตทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวทั่วโลกในการบริหารจัดการประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในทุกภาคส่วนเพื่อลดโอกาสและความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้น กลายเป็นแรงผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศทั่วโลกประกาศใช้นโยบาย มาตรการ ระเบียบปฏิบัติ รวมถึงกฎหมายใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อป้องกันและควบคุมผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของนักลงทุนชั้นนำจากทั่วโลก ที่มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ และกฎหมายของประเทศคู่ค้าสำคัญต่าง ๆ และปฏิบัติตามนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมจากบริษัทแม่ในต่างประเทศอย่างเคร่งครัด จึงมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์และการบริการที่เป็นไปตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสำคัญ 

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะอมตะ

บริษัทมุ่งมั่นสู่การเป็นผู้พัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อสนองตอบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาธุรกิจที่รองรับความท้าทายทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าในอนาคตยุคชีวิตวิถีถัดไปหลังจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (Next Normal) โดยพัฒนาพื้นที่การลงทุนโซนใหม่ที่มีมาตรฐานระดับสากล พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแรงงานที่มีคุณภาพ ให้เมืองอัจฉริยะอมตะเป็นพื้นที่การลงทุนที่สมบูรณ์แบบในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC และเป็นศูนย์การเรียนรู้ในภูมิภาคนี้ สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ประเทศไทยต่อไป ซึ่งแนวคิดเมืองอัจฉริยะอมตะ (AMATA Smart City) นั้น จะเริ่มต้นจากการพัฒนาและยกระดับนิคมอุตสาหกรรมในปัจจุบันของบริษัทฯ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และต่อยอดไปยังพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอื่น ๆ ของบริษัทฯ ในอนาคต

  • วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อศึกษาความเป็นเป็นได้โครงการ อมตะ ยูโรเปี้ยน สมาร์ทซิตี้ รองรับนักลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงจากยุโรป
  • วันที่ 10 กันยายน 2566 พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และบริษัท Dajia International Investment Co., Ltd. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้โครงการ อมตะ ไทเป สมาร์ทซิตี้ และการพัฒนานวัตกรรมอัจฉริยะ
  • วันที่ 13 กันยายน 2566 พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และ Federation of Hongkong Industries เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมในไทยและฮ่องกง และเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือกันระหว่างชุมชนธุรกิจของทั้งสองฝ่าย
  • วันที่ 18 กันยายน 2566 พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และ Guangdong Mechanical and Electrical Polytechnic และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) เพื่อยกระดับความสามารถบุคลากรให้พร้อมสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล

การพัฒนาธุรกิจในต่างประเทศ

บริษัทฯ มองเห็นโอกาสจากการเติบโตของกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งมีทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพสูงในการเชื่อมต่อโครงข่ายธุรกิจกับห่วงโซ่อุปทานของโลก และอยู่ในความสนใจของนักลงทุนชั้นนำ ประกอบกับนโยบายที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงที่มีการเชื่อมต่อมากขึ้น กลุ่มประเทศในภูมิภาคนี้จึงมีศักยภาพสูงในการรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต บริษัทฯ จึงได้มีการขยายธุรกิจการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปสู่กลุ่มประเทศ CLMV โดยนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการพัฒนาเมือง และนำต้นแบบเมืองอัจฉริยะอมตะไปเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ในกลุ่มประเทศดังกล่าว

การพัฒนาธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียและสังคม

การจัดการนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับกระบวนการบริหารจัดการนวัตกรรม เพื่อสร้างความแตกต่างและมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ รวมถึงการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน และลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนบริษัทฯ ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น บริษัทฯจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรตั้งแต่การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงนวัตกรรม และความรู้ความสามารถของบุคลากรในบริษัทฯ ตามที่ได้กำหนดไว้ในคุณลักษณะของการเป็นคนอมตะ (AMATA DNA) ในเรื่อง Innovative การมีความคิดสร้างสรรค์ ลองคิดสิ่งใหม่เพื่อการพัฒนา ซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในทุกระดับ

ในปี 2566 บริษัทฯ ได้พัฒนากระบวนการบริหารจัดการนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Innovation Management Process) ขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการนวัตกรรมของบริษัทฯ ส่งเสริมกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

โดยบริษัทฯ ได้มีวิธีการในการจัดหานวัตกรรมที่สอดคล้องกับธุรกิจ (INPUT) อยู่ 2 แนวทาง คือ 1) การร่วมมือกับหุ้นส่วนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อพัฒนานวัตกรรม (EXTERNAL) และ 2) การส่งเสริมให้พนักงานของบริษัทฯ เป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมทางธุรกิจ (INTERNAL) โดยนวัตกรรมที่ได้นั้นไม่ว่าจะเป็นเพียงแนวคิด หรือโครงการที่ดำเนินการแล้ว บริษัทฯ จะสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในการพัฒนาเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม (VALUE-ADDED) ก่อนส่งมอบคุณค่านั้นให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียต่อไป

1) การร่วมมือกับหุ้นส่วนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อพัฒนานวัตกรรม

บริษัทฯ วางกลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและโครงการย่อยผ่านหุ้นส่วนกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Strategic Business Partners) เพื่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพสูง บริษัทฯ จึงได้ร่วมมือกับบริษัทและองค์กรชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศที่เป็นผู้นำในด้านต่าง ๆ พัฒนาโครงการธุรกิจใหม่ภายใต้กรอบแนวคิดเมืองอัจฉริยะอมตะ พื้นที่เมืองอัจฉริยะอมตะมีเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็นโซนเมืองอัจฉริยะตามความร่วมมือกับหุ้นส่วนกลยุทธ์ทางธุรกิจ จากประเทศจากจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ยุโรป ฯลฯ เป้าหมายคือเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา รวมถึงเพิ่มคุณภาพชีวิตคนทำงาน ส่งเสริมระบบนิเวศธุรกิจ นวัตกรรม และอำนวยความสะดวกในกิจกรรมด้านการวิจัยและพัฒนา

การร่วมมือกับบริษัทและองค์กรชั้นนำเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้โครงการต่างๆ แล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้แนวคิด เทคโนโลยีใหม่ ๆ จากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เพื่อสร้างกระบวนการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) และสามารถต่อยอดไปยังการวิจัย และคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

2) การส่งเสริมให้พนักงานเป็นผู้พัฒนานวัตกรรม

บริษัทฯ ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้พนักงานในกลุ่มอมตะ ทุกระดับได้แสดงศักยภาพและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานของบริษัทฯ โดยทุกปี บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประกวดโครงการ (Innovation Project) และแนวคิดด้านนวัตกรรม (Innovation Idea) เพื่อเป็นพื้นที่ที่ช่วยให้พนักงานได้แสดงศักยภาพ และเสนอแนวความคิดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการทำงานร่วมกัน

ในปี 2565 บริษัทฯ ได้จัดโครงการประกวด “AMATA INNO Awards 2023” โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกโครงการที่มีศักยภาพเพื่อนำไปต่อยอด และพัฒนาในอนาคต มีการกำหนดรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจให้พนักงานส่งโครงการและแนวคิดด้านนวัตกรรมเข้าร่วมโครงการ รวมเป็นเงินรางวัลทั้งสิ้น 2,500,000 บาท ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเงินรางวัลจากมูลนิธิอมตะ  เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ในปีนี้มีพนักงานเข้าร่วมโครงการ จาก 17 ทีม และมีโครงการและแนวคิดด้านนวัตกรรมที่เข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 7 โครงการ และ 14 แนวคิด รวมทั้งสิ้น 21 ชิ้นงาน

จากข้อมูลโครงการด้านนวัตกรรม (Innovation Project) ที่ได้ดำเนินการแล้วระหว่างปี 2563-2565 พบว่าสามารถ ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานไปได้ทั้งสิ้น 19.33 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้สามารถจำแนกเป็นโครงการที่ช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจำนวน 4 โครงการ และโครงการนวัตกรรมด้านสังคมจำนวน 3 โครงการ

ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ

ในปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 9,698.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 20.49 และมีกำไรสุทธิจำนวน 1,884.76ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 จำนวนร้อยละ 19.50 สามารถจำแนกโครงสร้างรายได้หลักออกเป็น 3 ส่วนคือ รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 4,804.05 ล้านบาท รายได้จากค่าสาธารณูปโภคและบริการ จำนวน 3,875.59 ล้านบาท และรายได้จากการให้เช่าและอื่น ๆ จำนวน 1,019.17 ล้านบาท

รายได้จากอสังหาริมทรัพย์

4,804.05 ล้านบาท

รายได้จากสาธารณูปโภคและบริการ

3,875.59 ล้านบาท

รายได้จากการให้เช่าและอื่น ๆ

1,019.17 ล้านบาท

ในปี 2566 เป็นปีที่มีปัจจัยเชิงบวกที่กระตุ้นให้เกิดการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์หลายข้อ ทั้งปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีการพัฒนาอย่างรุดหน้า ปัจจัยจากนโยบายภาครัฐในส่วนของการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง (มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) ไปจนถึงความต้องการของลูกค้าที่มีมากยิ่งขึ้น หลังจากการฟื้นตัวจากช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 และถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดของ Covid-19 จะยังไม่จบลง แต่สถานการณ์ปัจจุบันก็มีความผ่อนคลายมากขึ้นเรื่อย ๆ หลาย ๆ คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติ มีการเปิดประเทศและยกเลิกนโยบายเว้นระยะห่างเกือบทั้งหมดแล้วทำให้มีการเดินทางระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น จากความมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าและบริการของบริษัทฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกด้วยมาตรฐานระดับสากล การขยายธุรกิจการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปสู่กลุ่มประเทศ CLMV และการไม่หยุดที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงการผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ ผ่านกระบวนการบริหารจัดการเชิงนวัตกรรม ทำให้บริษัทฯ มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 66.77 เนื่องจากบริษัทฯ มีการโอนที่ดินทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการขยายโครงการทำให้มีความต้องการสาธารณูปโภคและบริการเพิ่มขึ้น จึงทำให้รายได้ค่าสาธารณูปโภคและบริการเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 38.37 แต่รายได้จากการให้เช่าอาคารโรงงานสำเร็จรูปและรายได้อื่น ๆ ของบริษัทฯ ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 56.96 เนื่องจากในปี 2566 มีการขายโรงงานสําเร็จรูปให้เช่าในประเทศเวียดนามออกไปจํานวน 2 หลัง และในปี 2565 มีการขายโรงงานสําเร็จรูปให้เช่าในประเทศเวียดนามออกไปจำนวน 24 หลัง ตามลำดับ

ร่วมสร้างอนาคต
ไปกับอมตะ

ร่วมสร้างอนาคต
ไปกับอมตะ

ติดต่อเราเพิ่มเติม

ประเทศไทย
+66 38 939 007
เวียดนาม

+84 251 3991 007 (ใต้)
+84 203 3567 007 (เหนือ)

พม่า

+95 1 230 5627

ลาว
+85 620 5758 0007