การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ จึงได้มีการบ่งชี้และประเมินผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ รวมถึงผลกระทบที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้สามารถบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญได้อย่างเหมาะสม

ในปี 2565 บริษัทฯ ปรับเปลี่ยนนิยามกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตามคำนิยามใหม่ของ GRI Universal Standards 2021 กล่าวคือเป็นบุคคลหรือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบหรืออาจจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัท บริษัท ฯ จึงได้จำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ พนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ชุมชน คู่ค้าและผู้รับเหมา คู่ธุรกิจ เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และคู่แข่งทางการค้า โดยแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียออกเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร (Internal stakeholders)  ได้แก่ พนักงาน และภายนอกองค์กร (External stakeholders) ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ชุมชน คู่ค้า/ผู้รับเหมา คู่ธุรกิจ เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และคู่แข่งทางการค้า และได้จัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียโดยพิจารณาจากระดับผลกระทบของบริษัทฯ ที่มีต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงสิทธิมนุษยชน ร่วมกับระดับผลกระทบหรืออิทธิพลจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อบริษัทฯ โดยเรียงลำดับความสำคัญสูงสุดจากวงกลมด้านในสุด

บริษัทฯ กำหนดนโยบายการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียและแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเป็นระบบ เพื่อสำรวจผลกระทบที่ผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มได้รับ ทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วและอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงข้อกังวลใจและความคาดหวังอื่นๆ ของผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านช่องทางและวิธีการต่างๆ อย่างน้อยปีละครั้ง บริษัทฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและวิธีการสำรวจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นระบบผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ  และดำเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอมตะ เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และนำความคาดหวัง ความต้องการ ข้อกังวลใจ และข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มาวิเคราะห์ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality) และดำเนินการจัดการประเด็นดังกล่าวอย่างเหมาะสมและสร้างคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้อย่างสมดุล  

ในปี 2565 มีรายละเอียดการเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ ตลอดจนการดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้

การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย

ร่วมสร้างอนาคตไปกับอมตะ

AMATA

Contact us for more details.

Thailand
+66 38 939 007
Vietnam

+84 251 3991 007 (South)
+84 203 3567 007 (North)

Myanmar
+95 1 230 5627
Laos

+85 620 5758 0007

© AMATA CORPORATION PCL. All rights reserved.  Web by Toneyes  Web by Toneyes