การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมนั้นแม้ว่าจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศและชุมชนท้องถิ่น แต่ในขณะเดียวกันการใช้ประโยชน์ที่ดินและการขยายตัวของชุมชนเมืองเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นย่อมส่งผลกระทบเชิงลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศในพื้นที่ การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงด้านความสมดุลของระบบนิเวศในพื้นที่ ซึ่งมีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติที่เป็นวัตถุดิบหลักของการดำเนินธุรกิจเช่น น้ำ และคุณภาพของสิ่งแวดล้อมโดยรวม ตลอดจนกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้เสียที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติในพื้นที่
บริษัทฯ มองเห็นโอกาสในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้เป็นเมืองที่มีความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการดูแลรักษาคุณภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกันกับชุมชนโดยรอบได้อย่างราบรื่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่อย่างมีคุณภาพและสมดุล จะสามารถส่งต่อทรัพยากรที่เพียงพอ และสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้เสียทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้แก่คนรุ่นต่อไปได้อย่างยั่งยืน
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด จึงได้กำหนดนโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหายและลดผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะ และเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ร่วมกัน ดูแล ฟื้นฟู และอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะทั้งสองแห่ง
นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง และนิคมอุตสาหกรรมอมตะสมาร์ทซิตี้ ชลบุรี ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2562 และไม่มีพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองตามประกาศของหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือพื้นที่ระบบนิเวศที่มีความสำคัญที่ได้รับประกาศจัดตั้งทั้งในระดับประเทศและสากล อยู่ในเขตรัศมี 5 กิโลเมตร
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 แห่งของบริษัทฯ อาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเกิดได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน การขยายตัวของชุมชนเมืองโดยรอบนิคม มลพิษที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ภายในนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานของคู่ค้าและผู้รับเหมาของบริษัทฯ เป็นต้น โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กระบวนการพัฒนาที่ดินของบริษัทฯ ไปจนถึงเมื่อพัฒนาแล้วเสร็จกลายเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
บริษัทฯ ได้ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง และนิคมอุตสาหกรรมอมตะสมาร์ทซิตี้ ชลบุรี อย่างต่อเนื่องผ่านโครงการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์น้ำท้องถิ่นในชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบเชิงลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ตามแนวคิดขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) ว่าด้วยการชดเชยความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Offset) หลักการลำดับขั้นของการลดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Mitigation Hierarchy) ประกอบไปด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ การหลีกเลี่ยง การลดผลกระทบ การฟื้นฟู และการชดเชย
บริษัทฯ มีเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะทั้งสามแห่ง เพื่อให้เป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อม ที่ดีส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าหมายให้มีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ดำเนินการทั้งหมดนิคมอุตสาหกรรม บริษัทฯ ได้จัดทำผังแม่บทและกำหนดแผนการพัฒนาพื้นที่สีเขียวภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะรายปี เพื่อดำเนินการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว (restoration) ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ ได้กำหนดชนิดพันธุ์ต้นไม้ในการปลูกโดยอ้างอิงข้อมูลประเภทป่าไม้ของจังหวัดชลบุรีและระยอง ของกรมป่าไม้ ซึ่งพื้นที่ป่าบนบก (terrestrial forest) ส่วนใหญ่ในจังหวัดชลบุรีและระยอง เป็นพื้นที่ป่าประเภทป่าเบญจพรรณ (mixed-deciduous forest) และป่าดิบแล้ง (dry evergreen forest)
บริษัทฯ มีเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะทั้งสองแห่ง เพื่อให้เป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อม ที่ดีส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าหมายให้มีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ดำเนินการทั้งหมดนิคมอุตสาหกรรม บริษัทฯ ได้จัดทำผังแม่บทและกำหนดแผนการพัฒนาพื้นที่สีเขียวภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะรายปี เพื่อดำเนินการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว (restoration) ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ ได้กำหนดชนิดพันธุ์ต้นไม้ในการปลูกโดยอ้างอิงข้อมูลประเภทป่าไม้ของจังหวัดชลบุรีและระยอง ของกรมป่าไม้ ซึ่งพื้นที่ป่าบนบก (Terrestrial Forest) ส่วนใหญ่ในจังหวัดชลบุรีและระยอง เป็นพื้นที่ป่าประเภทป่าเบญจพรรณ (Mixed-deciduous Forest) และป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)
นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี มีพื้นที่โครงการทั้งหมดรวม 19,601 ไร่ (3,136 เฮกตาร์) มีพื้นที่ที่ดำเนินงานแล้วทั้งหมด 17,891 ไร่ (2,862 เฮกตาร์) และมีพื้นที่สีเขียวทั้งหมด 2,109 ไร่ (337 เฮกตาร์) คิดเป็นร้อยละ 11.79 ของพื้นที่ที่ดำเนินงานแล้ว ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ดำเนินการปลูกไม้ยืนต้นภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ไปประมาณ 2,050 ต้น เพื่อปรับปรุงพื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่สามารถพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว การปลูกไม้ยืนต้นทดแทนกล้าไม้ที่ตายลง และการปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยมีอัตราการรอดตายของกล้าไม้ที่ร้อยละ 80 โดยปลูกไม้ยืนต้นชนิดพันธุ์ท้องถิ่นทั้งหมดร้อยละ 100 ซึ่งเป็นชนิดที่พบในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และเป็นชนิดพันธุ์ไม้ของป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ตามรายงานของกรมป่าไม้และมีความทนต่อสภาพดินเค็ม เช่น พะยูง ยางนา ตะแบก กัลปพฤกษ์ ทรงบาดาล นนทรี ตะแบกน้ำ แคนา มะฮอกกานี ประดู่ป่า มะขาม มะขามเทศ เป็นต้น
นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 17,898 ไร่ (2,864 เฮกตาร์) มีพื้นที่ที่ดำเนินงานแล้วทั้งหมด 15,390 ไร่ (2,462 เฮกตาร์) และมีพื้นที่สีเขียวทั้งหมด 1,600 ไร่ (256 เฮกตาร์) คิดเป็นร้อยละ 10.40 ของพื้นที่ที่ดำเนินงานแล้ว ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ดำเนินการปลูกไม้ยืนต้นภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ไปทั้งสิ้น 3,000 ต้น โดยมีอัตราการรอดตายของกล้าไม้เท่ากับร้อยละ 85 ซึ่งจะมีการปลูกทดแทนกล้าไม้ที่ตายไปอยู่เสมอ โดยปลูกไม้ยืนต้นชนิดพันธุ์ท้องถิ่นทั้งหมดร้อยละ 100 ซึ่งเป็นชนิดที่พบในพื้นที่จังหวัดระยอง และเป็นชนิดพันธุ์ไม้ของป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ตามรายงานของกรมป่าไม้ เช่น ต้น มะค่า หว้า ยางนา พะยอม ตะแบก ขี้เหล็ก มะขาม อินทนิล มะฮอกกานี เป็นต้น
นิคมอุตสาหกรรมอมตะสมาร์ทซิตี้ ชลบุรี มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 8,227 ไร่ (1,316 เฮกตาร์) บริษัทได้เริ่มพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่นี้ตั้งแต่ปี 2566 รวมพื้นที่ที่ดำเนินงานแล้ว 5,354 ไร่ (856 เฮกตาร์) โดยในพื้นที่ส่วนนี้กำหนดเป็นพื้นที่สีเขียวจำนวน 630 ไร่ (100 เฮกตาร์) คิดเป็นร้อยละ 11.76 ของพื้นที่ที่ดำเนินงานแล้ว ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการดำเนินการพัฒนา
บริษัทฯ จัดทำโครงการร่วมกับโรงงานผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะรกร้างให้กลายเป็นพื้นที่ผืนป่าชุมชน ด้วยการร่วมกันปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นยืนต้น เช่น โครงการ Forest for Life ปลูกป่า ปลูกชีวิต ร่วมกับบริษัท โตไค ริคะ (ไทยแลนด์) จำกัด ปลูกป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ขนาด 12 ไร่ โดยระยะเวลาโครงการ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2562-2566 ในปี 2566 ปลูกต้นไม้จำนวน 5,800 ต้น บนเนื้อที่ 3 ไร่ รวมต้นไม้ที่ปลูกในโครงการจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 23,200 ต้น ในพื้นที่ 9 ไร่
นอกจากนี้ บริษัท อมตะซิตี้ ระยอง จำกัด ร่วมกับ บริษัท อมตะ ยู จำกัด บริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง และหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้บางละมุง ร่วมกันจัด “โครงการความร่วมมือเพิ่มพื้นที่สีเขียว และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ปลูกป่าชุมชน)” บริเวณป่าสงวนแห่งชาติบางละมุง หมู่ 1 ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
กิจกรรมนี้ มุ่งเน้นการดำเนินการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมตามแนวทางการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ Eco Industrial Town เพื่อการสร้างสังคมอุตสาหกรรมที่อยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างผาสุก ทั้งนี้เพื่อขยายขอบเขตการพัฒนาจากพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสู่ชุมชนโดยรอบ ภายใต้หลักการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน โดยมีพนักงานจิตอาสาและชุมชนกว่า 300 คน ร่วมกันปลูกต้นไม้พื้นถิ่น เช่น มะขาม ขี้เหล็ก สะเดา พิกุล จำนวน 2,000 ต้น เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับป่าชุมชนต่อไป
กิจกรรมปลูกป่าชุมชนนี้ เป็นกิจกรรมต่อเนื่องที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ 3 แล้ว โดยครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ปลูกต้นไม้ จำนวนรวม 4,000 ต้น บริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านภูไทร หมู่ 5 ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ร่วมกับสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และผู้ประกอบการภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี กว่า 30 บริษัท จัดกิจกรรมปล่อยปลา ปลูกป่าชายเลน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม
ราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 91 พรรษา โดยปล่อยพันธุ์ปลา รวมกว่า 20,000 ตัวและปลูกป่าโกงกางจำนวนกว่า 1,000 ต้น ณ ศูนย์การเรียนรู้เชิงอนุรักษ์ ป่าชายเลน ตำบลคลองตำหรุ จังหวัดชลบุรี ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังช่วย เพิ่มจำนวนพันธุ์ปลาให้มีความหลากหลาย ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งอาหารและสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนได้ในอนาคตอีกด้วย
ส่วนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่กลางน้ำ มีลำห้วยภูไทรซึ่งรับน้ำมาจากเขตลุ่มน้ำเขาไม้แก้ว ไหลผ่านพื้นที่นิคมฯ ก่อนจะไหลออกไปสู่อ่างเก็บน้ำดอกกราย ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ความจุกว่า 79 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่กว่า 2.08 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,300 ไร่ ในจังหวัดระยอง แม้ว่าอ่างเก็บน้ำดอกกราย จะอยู่นอกเขตรัศมี 5 กิโลเมตรจากนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง แต่เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในเชิงระบบนิเวศน้ำจืด และแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของชุมชน เนื่องจากเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และพื้นที่ประมงพื้นบ้านของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนาจำนวนกว่า 500 หลังคาเรือน ทำให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความกังวลในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อคุณภาพน้ำ และส่งผลต่อสัตว์น้ำซึ่งเป็นแหล่งอาชีพดั้งเดิมที่สำคัญของชุมชน
บริษัทฯ จึงร่วมกับประมงจังหวัดระยอง กลุ่มบริหารทรัพยากรประมงอ่างเก็บน้ำดอกกราย ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุมชนที่คอยดูแล ควบคุม การใช้ประโยชน์ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ และพันธมิตรกลุ่มต่าง ๆ เช่น หน่วยงานท้องถิ่น และโรงงานผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง พัฒนาโครงการ “อมตะร่วมใจพัฒนาแหล่งน้ำสู่ความยั่งยืน” เพื่อดูแล ฟื้นฟูแหล่งน้ำ รวมถึงอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์น้ำท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งอาชีพ และแหล่งอาหารของชุมชนแล้ว ยังสามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำที่มีประสิทธิภาพได้อีกด้วย
ในปี 2566 นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ร่วมกับ กลุ่มบริหารทรัพยากรประมงอ่างเก็บน้ำดอกกราย จัด “กิจกรรมอนุรักษ์แหล่งน้ำอย่างยั่งยืน เยาวชนสร้างบ้านปลา” ขึ้น ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 เพื่อให้ความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์แหล่งน้ำแก่เยาวชนในพื้นที่ โดยในปีนี้นักเรียนจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้ร่วมกันจัดทำ “ซั้ง” หรือ “บ้านปลา” จากเชือก ณ อ่างเก็บน้ำดอกกราย ต.พนานิคม อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง เพื่อเป็นที่พักและหลบภัยให้กับพันธุ์สัตว์น้ำที่ปล่อย และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต ทั้งยังสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ชนิดและจำนวนสิ่งมีชีวิตที่มาอาศัยอยู่บริเวณบ้านปลา ส่งผลให้เยาวชนมีความตระหนักรู้มากขึ้นในเรื่องการดูแลระบบนิเวศในแหล่งน้ำและมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นให้ยั่งยืนต่อไป
นอกจากนี้ บริษัท อมตะซิตี้ ระยอง จำกัด บริษัท อมตะ ยู จำกัด ร่วมกับ กลุ่มบริหารทรัพยากรประมงอ่างเก็บน้ำดอกกราย สำนักงานประมงจังหวัดระยอง และองค์การบริหารส่วนตำบลพนานิคม จัดโครงการอนุรักษ์แหล่งน้ำอย่างยั่งยืน (ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือไตรภาคีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ณ อ่างเก็บน้ำดอกกราย จ.ระยอง โดยมีพนักงานจิตอาสาจากสถานประกอบทั้งในและนอกนิคมฯ รวมถึงชุมชนมากกว่า 300 คน ร่วมกันปล่อยปลาจำนวนกว่า 230,000 ตัว อาทิ ปลาจีน ปลากระโห้อินเดีย ปลายี่สกเทศ ปลากาดำ ปลาบึก และกุ้งก้ามกรามจำนวนกว่า 150,000 ตัว ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ที่ถูกสำรวจพบในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโดยประมงจังหวัดระยอง ตั้งแต่ดำเนินโครงการมาจนถึงปี 2566 บริษัทฯ ได้ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไปแล้วมากกว่า 2,530,000 ตัว รวมถึงดำเนินกิจกรรมการทำบ้านปลา หรือ ซั้งปลา จากเชือกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นที่พักและหลบภัยให้กับพันธุ์สัตว์น้ำที่ปล่อย และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต ทั้งยังสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ชนิดและจำนวนสิ่งมีชีวิตที่มาอาศัยอยู่บริเวณบ้านปลา
ผลการดำเนินกิจกรรมที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์สายพันธุ์ท้องถิ่น และเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำดอกกรายแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนท้องถิ่นถึงคุณภาพน้ำที่ไหลผ่านนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ว่าบริษัทฯ มีการจัดการ ควบคุม และเฝ้าระวังคุณภาพของน้ำเป็นอย่างดี ในอนาคตบริษัทฯ มีแผนการสำรวจความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ของสัตว์น้ำ ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำดอกกราย ร่วมกับประมงจังหวัดระยอง และกลุ่มบริหารทรัพยากรประมงอ่างเก็บน้ำดอกกราย เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำในอนาคต
นอกจากนี้ บริษัท อมตะซิตี้ ระยอง จำกัด บริษัท อมตะ ยู จำกัด ร่วมกับ กลุ่มบริหารทรัพยากรประมงอ่างเก็บน้ำดอกกราย สำนักงานประมงจังหวัดระยอง และองค์การบริหารส่วนตำบลพนานิคม จัดโครงการอนุรักษ์แหล่งน้ำอย่างยั่งยืน (ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือไตรภาคีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ณ อ่างเก็บน้ำดอกกราย จ.ระยอง โดยมีพนักงานจิตอาสาจากสถานประกอบทั้งในและนอกนิคมฯ รวมถึงชุมชนมากกว่า 300 คน ร่วมกันปล่อยปลาจำนวนกว่า 230,000 ตัว อาทิ ปลาจีน ปลากระโห้อินเดีย ปลายี่สกเทศ ปลากาดำ ปลาบึก และกุ้งก้ามกรามจำนวนกว่า 150,000 ตัว ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ที่ถูกสำรวจพบในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโดยประมงจังหวัดระยอง ตั้งแต่ดำเนินโครงการมาจนถึงปี 2566 บริษัทฯ ได้ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไปแล้วมากกว่า 2,530,000 ตัว รวมถึงดำเนินกิจกรรมการทำบ้านปลา หรือ ซั้งปลา จากเชือกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นที่พักและหลบภัยให้กับพันธุ์สัตว์น้ำที่ปล่อย และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต ทั้งยังสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ชนิดและจำนวนสิ่งมีชีวิตที่มาอาศัยอยู่บริเวณบ้านปลา
ผลการดำเนินกิจกรรมที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์สายพันธุ์ท้องถิ่น และเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำดอกกรายแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนท้องถิ่นถึงคุณภาพน้ำที่ไหลผ่านนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ว่าบริษัทฯ มีการจัดการ ควบคุม และเฝ้าระวังคุณภาพของน้ำเป็นอย่างดี ในอนาคตบริษัทฯ มีแผนการสำรวจความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ของสัตว์น้ำ ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำดอกกราย ร่วมกับประมงจังหวัดระยอง และกลุ่มบริหารทรัพยากรประมงอ่างเก็บน้ำดอกกราย เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำในอนาคต
+84 251 3991 007 (South)
+84 203 3567 007 (North)
+85 620 5758 0007
© AMATA CORPORATION PCL. All rights reserved. Web by Toneyes